ใบกำกับภาษี ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ใบกำกับภาษีกระดาษ นับว่ามีความสำคัญอย่างมากที่ผู้เสียภาษีนำมาเป็นหลักฐานในการขอคืนภาษี หรือเปรียบเสมือนเป็นหลักฐานทางการเงินถ้าหากว่าใบกำกับภาษีไม่ถูกต้องแล้ว ผู้เสียภาษีนำมาขอเครดิตหรือขอคืนภาษีแล้ว จะทำให้รัฐเกิดความเสียหาย ในการเก็บภาษีเข้ารัฐ ใบกำกับภาษี ที่ไม่ถูกต้องมีหลายกรณี แต่ที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากก็คือ ใบกำกับภาษีปลอม เพราะว่าเป็นการจงใจเจตนา ที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาษีและเป็นความผิดร้ายแรง และ ในปัจจุบันก็ยังมีผู้เสียภาษีบางกลุ่มที่ยังใช้ ใบกำกับภาษีปลอม ซึ่งเป็นปัญหาที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจต้องติดตามหรือตรวจให้พบ หรือป้องกันไม่ให้ผู้เสียภาษีนำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ โดยหาวิธีการตรวจเพื่อเป็นแนวทางต่อไป
บทความในวันนี้นี้ทางบริษัท ทำบัญชีAPlus Tax Accountant สรุปเกี่ยวกับใบกำกับภาษี ปัญหาใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีปลอม ใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย บทลงโทษทางแพ่งและทางอาญา อายุความใบกำกับภาษีปลอม รวมทั้งประเด็นที่ทางสรรพากรใช้ในการประเมินผู้ออกใบกำกับภาษีปลอมในเบื้องต้น
นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 กรมสรรพากรได้แจ้งว่าจะดำเนินคดีอาญาในกรณีการใช้ ใบกำกับภาษีปลอม โดยไม่มีการผ่อนปรนดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งการดำเนินคดีอาญาดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร
“มาตรา 37 ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
(1) โดยเจตนาแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือเพื่อขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้ หรือ
(2) โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้”
โดยอธิบดีกรมสรรพากร เคยกล่าวถึงโทษตามมาตรา 37 ในการแถลงข่าว เรื่อง ความร่วมมือกับสำนักงานบัญชีเพื่อการแนะนำด้านภาษีอากรที่มีคุณภาพ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ว่า “โทษบังคับนี้ ใช้ทั้งกับผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม คือ บริษัท ห้างร้าน และผู้ที่สนับสนุนให้กระทำผิด คือ สำนักงานบัญชี ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกดำเนินการในลักษณะนี้อยู่แล้วและเริ่มเข้มข้นขึ้น รวมถึงขอให้ไทยดำเนินคดีอาญาเหมือนในต่างประเทศด้วย เพราะที่ผ่านมา 20 ปี ไทยอนุโลมให้หากสำนึกผิดมาเสียภาษีและเสียค่าปรับถือว่าจบกันไปไม่ต้องดำเนินคดีอาญา แต่ต่อไปถ้ามีหลักฐานชัดเจนว่ามีการใช้ใบกำกับภาษีปลอม จะไม่มีการละเว้นหรืออนุโลมในคดีอาญาให้อีก”
สำนักงานบัญชีที่มีพฤติกรรมจงใจบันทึกบัญชีโดยปกปิดข้อเท็จจริง สร้างรายจ่ายอันเป็นเท็จ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกหรือใช้ใบกำกับภาษีปลอม ทำให้ผู้ประกอบการเสียภาษีไม่ถูกต้อง ตลอดจนการขอคืนภาษีเป็นเท็จ นอกจากจะถูกกรมสรรพากรดำเนินคดีอาญาตามประมวลรัษฎากรแล้ว ยังเป็นความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ. การบัญชีพ.ศ. 2543 ด้วย ซึ่งมีทั้งโทษปรับและจำคุก รวมถึงเป็นความผิดในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีอาจลงโทษสูงสุดถึงชั้นเพิกถอนการขึ้นทะเบียน”
ในฐานะที่เราเป็นผู้ประกอบการที่อาจได้รับผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าว เราจึงควรมีการวางแผนเพื่อป้องกัน ใบกำกับภาษีปลอมดังนี้
การวางแผนเพื่อป้องกัน ใบกำกับภาษีปลอม ในขั้นตอนแรกเราควรสำรวจธุรกิจของตนเอง ว่าเป็นธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการที่จะได้รับใบกำกับภาษีปลอมหรือไม่ เช่น ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยเฉพาะกรณีจ้างเหมาช่วงที่กำหนดว่าจ้างเฉพาะค่าแรงรับเหมา แต่ผู้ว่าจ้างยอมให้ผู้รับจ้างจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการรับจ้างให้ด้วยธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างธุรกิจซื้อมาขายไปประเภทผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ธุรกิจส่งออก หรือธุรกิจผ้าและการ์เมนท์
การติดต่อซื้อขายสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเต็มรูปแบบรายอื่น ๆ ที่คุ้นเคยและติดต่อค้าขายหรือให้บริการกันอยู่เป็นประจำ ไม่ควรติดต่อซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ค้าขาจรที่ลักษณะเร่งร้อน หรือลุกลี้ลุกลน
หากตรวจสอบใบกำกับภาษี หลักฐานการซื้อขายอย่างละเอียดแล้ว ยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่าถูกต้องหรือไม่ ให้เรียกตรวจสอบหลักฐานทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)ต้นฉบับที่กรมสรรพากรได้
ผู้ประการธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการที่จะได้รับ ใบกำกับภาษีปลอม ควรตรวจสอบราคาสินค้า หรือ บริการ ในท้องตลาดอย่างสม่ำเสมอ ควรเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่ราคาสมเหตุสมผล ใกล่คียงกลับราคาตลาดไม่ควรซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและตกลงซื้อขายเป็นเงินสด โดยไม่มีการผ่อนระยะเวลาการชำระหนี้ (Credit Term) ไม่ว่ากรณีใด ๆ
เมื่อได้รับสินค้ามาแล้ว ควรตรวจสอบรายการสินค้าตามหลักฐานใบกำกับภาษีกับที่ตกลงซื้อขายว่ามีรายการตรงกัน
ธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการที่จะได้รับใบกำกับภาษีปลอม ไม่ควรซื้อสินค้าหรือรับบริการ จากผู้ประกอบการที่ไม่ยอมรับชำระหนี้ด้วยเช็คขีดคร่อมชนิดระบุชื่อผู้รับตามเช็ค (A/C Payee Only) และขีดฆ่าผู้ถือออก เพราะหลักฐานชนิดนี้สามารถพิสูจน์ผู้รับเงินตามเช็คได้
ธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการที่จะได้รับใบกำกับภาษีปลอม ช่น ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจซื้อมาขายไปประเภทผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ธุรกิจส่งออก หรือ ธุรกิจผ้าและการ์เมนท์ ควรมีการกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจรับใบกำกับภาษีซื้ออย่างเป็นระบบ และมีความรัดกุมเพียงพอ
เนื่องจากปัจจุบันกรมสรรพากร ได้มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับใบกำกับภาษีปลอมที่เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการต่อต้านการทุจริตซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลให้ความสำคัญจึงนับว่าเป็นยาแรงสำหรับผู้ใช้ใบกำกับภาษีที่อาจเป็นเหยื่อของใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือที่เราเรียกง่ย ๆ ว่า ใบกำกับภาษีปลอม อย่างไม่รู้ตัว เพราะในความเข้าใจทั่วไปของเรา ๆ มักเข้าใจว่าการตรวจสอบคู่ค้าว่ามีการจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรอย่างถูกต้องน่าจะเพียงพอแล้ว แต่ในมุมของเจ้าหน้าที่สรรพากรนั้น
ผู้ประกอบการจะต้องสามารถพิสูจน์ให้ได้ว่าผู้ออกใบกำกับภาษีและผู้ขายเป็นรายเดียวกัน มีการชำระสินค้ากันจริงด้วย ทั้งนี้ ใช่เพียงแต่ที่ผู้ประกอบการจะต้องใช้ความระมัดระวังแต่เฉพาะด้านคู่ค้าเท่านั้น การตรวจสอบภายในหรือการควบคุมภายในก็มีความจำเป็นเช่นกัน เพราะหากเกิดปัญหาเกลือเป็นหนอนขึ้น ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการจะสุจริต แต่เราไม่สามารถที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับกรมสรรพากรได้เลย เพราะประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายเฉพาะ ได้วางหลักไว้ในมาตรา 89 (7) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฏากร ไว้ว่า ….ในกรณีใบกำกับภาษีที่ผู้ได้รับประโยชน์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี ให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอมใบกำกับกาษีปลอม จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะตรวจสอบ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องยาก หากเราใส่ใจมันมากพอ